ภาษาไทยศึกษา
คำซ้ำ
คำซ้ำ เป็นการซ้ำคำมูลเดิม ความหมายของคำซ้ำอาจเหมือนคำมูลเดิม หรืออาจมีน้ำหนักมากขึ้นหรือเบาลง หรือแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น เขียว ๆ แดง ๆ ไกล ๆ มาก ๆ น้อย ๆ ช้า ๆ เร็ว ๆ ดัง ๆ ถี่ ๆ ห่าง ๆ จริง ๆ เพื่อน ๆ หลาน ๆ ฯลฯ
คำซ้ำในคำซ้อน เป็นการนำคำซ้อนมาแยกแล้วซ้ำคำมูลแต่ละคำ คำซ้ำในคำซ้อนอาจมีความหมายเท่าคำซ้อนเดิม หรือมีความหมายหนักขึ้น หรือเบาลง หรือแสดงความเป็นพหูพจน์ หรือมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
คำซ้ำ คือ การนำคำมูลมากล่าวซ้ำ ๒ ครั้ง เมื่อเขียนนิยมใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
ตัวอย่างคำซ้ำในคำซ้อน
ผัว ๆ เมีย ๆ (ความหมายเท่าผัวเมีย)
สวย ๆ งาม ๆ (ความหมายเท่าสวยงาม)
ดึก ๆ ดื่น ๆ (ความหมายหนักกว่าดึกดื่น)
ด้อม ๆ มอง ๆ (ความหมายเบาลงกว่าด้อมมอง)
ลูก ๆ หลาน ๆ (ความหมายแสดงจำนวนมากกว่าลูกหลาน)
รูปลักษณ์ของคำซ้ำ
เขียนเหมือน
อ่านเหมือน
ความหมายเหมือน
เป็นคำชนิดเดียวกัน
ทำหน้าที่เดียวกัน
อยู่ในประโยคเดียวกัน
ตัวอย่างประโยคที่มีรูปลักษณ์ของคำซ้ำ
ฉันมีเพื่อน ๆ เป็นคนต่างจังหวัด
ลูก ๆ ของพระยาพิชัยรับราชการทุกคน
ฉันเห็นเธอพูด ๆ ๆ อยู่นั่นแหละ
พวกเราเข้าไปนั่ง ๆ ฟังเสียหน่อย เกรงใจเจ้าภาพ
ฉันไม่ได้ตั้งใจดูเขาหรอก แต่รู้สึกว่าเขามีผิวสีดำ ๆ